677 จำนวนผู้เข้าชม |
ทำไมทุกครั้งที่ไปเที่ยวบนเขา หรืออยู่บนตึกที่สูง ๆ แล้วรู้สึกอึกอัดหายใจลำบาก และมีอาการอยากอาเจียนออกมา ปวดศีรษะ หรือหัวใจเต้นถี่เร็วผิดปกติ ใช่แล้วละครับ นั่นเป็นสัญญาณของ ภาวะพร่องออกซิเจน ซึ่งมีผลมาจากออกซิเจนในเลือดต่ำ หากปล่อยไว้อาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตเลยล่ะครับ เพราะฉะนั้น เรามาทำความรู้จักกับภัยร้ายนี้ เพื่อที่จะได้สังเกต และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับคุณหรือคนที่คุณรักครับ
ภาวะพร่องออกซิเจน คืออะไร? มีสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดภาวะนี้บ้าง?
ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) คือ ภาวะที่ร่างกายขาดออกซิเจน อันเป็นผลมาจากการที่ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ (hypoxemia) ส่งผลให้เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ จนทำให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง โดยจะแสดงลักษณะผิดปกติออกมาให้เห็นทางภายนอก เช่น ผิวหนังเขียวซีด เหงื่อออกมาก หายใจผิดปกติ เป็นต้น
โดยภาวะพร่องออกซิเจนนี้ สามารถแบ่งออกได้ 4 ชนิด ตามสาเหตุการเกิด
โดยเราจะสามารถสังเกตอาการผิดปกติอย่างไรได้บ้าง?
-ผิวหนังซีด หรือเป็นสีเขียวคล้ำ
-ไอ คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
-วิงเวียนหรือปวดศีรษะ
-มีเหงื่อออกมาก รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มือเท้าชา
-หายใจลำบาก ถี่ หรือมีเสียงหวีด
-รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
-ตาพร่ามัว สับสน มึนงง ซึม
-การรับรู้ตัวลดลง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก หากปล่อยไว้อาจเกิดอาการเพ้อ ชัก หมดสติ อาจเข้าสู่ภาวะโคม่า และอาจเสียชีวิตได้
ส่วนในเด็กอาจ0t,uอาการข้างต้นเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่สามารถสังเกตอาการผิดปกติ ได้ดังนี้
-ดูอ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว
-เลิกสนใจของเล่น หรือสิ่งที่เด็กเคยสนใจ
-สังเกตเห็นเด็กนั่งเอนตัวไปทางด้านหน้า เนื่องจากทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น
-เด็กที่มีโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ อาจมีอาการหายใจทางปากและมีน้ำลายไหลออกมามากผิดปกติ
ในผู้ป่วยบางราย อาจไม่พบอาการบ่งชี้ข้างต้น แต่เราสามารถตรวจสอบระดับออกซิเจนในเลือดได้ โดยการใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หากพบว่ามีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่า 90% นั่นแปลว่าเกิดภาวะพร่องออกซิเจน ดังนั้น หากสังเกตแล้วพบอาการบ่งชี้ข้างต้น หรือพบว่าระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติแม้ไม่มีอาการ ก็ควรรีบนำตัวไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาทันที
วิธีป้องกันการเกิด ภาวะพร่องออกซิเจน
สำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องออกซิเจน เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์ก็จะทำการบำบัดรักษาด้วยการให้ออกซิเจน เพื่อให้ระดับออกซิเจนในเลือดกลับมาดีขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อช่วยเยียวยาให้ร่างกายกลับมาดีขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีภาวะพร่องออกซิเจน ก็ยังถือว่าเป็นวิธีที่ช่วยลดโอกาสการเกิดได้ค่ะ
-นอนหนุนหมอนสูง หรือปรับฟังก์ชันเตียงให้อยู่ในท่าศีรษะสูง (เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เตียงปรับระดับไฟฟ้า จาก Realmedcorp มีฟังก์ชันในการปรับท่าทางที่หลากหลาย สามารถปรับท่าศีรษะสูงได้) เพื่อให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่
-หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือการรับควันบุหรี่
-ดื่มน้ำเปล่าสะอาดมาก ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายต่อวัน
-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
-ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น โยคะ การเดิน
-หมั่นตรวจระดับออกซิเจนในเลือด ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด
-หากเป็นเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย หรือผู้ที่เคยมีภาวะพร่องออกซิเจน ให้พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่บนที่สูงมาก ๆ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่อากาศเบาบาง
-หากเป็นผู้ป่วยโรคหอบหืด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด และได้รับการพ่นยาตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
สรุป
ภาวะพร่องออกซิเจน แม้ส่วนใหญ่จะเป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ แต่ก็เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกวัย ซึ่งบางครั้ง มักมีสาเหตุมาจากปัจจัยใกล้ตัวที่หลายคนมองข้ามไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากพบว่ามีอาการผิดปกติตามที่กล่าวข้างต้น หรือตรวจวัดออกซิเจนในเลือด ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว แล้วพบว่าออกซิเจนต่ำผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา ก่อนจะเกิดภาวะรุนแรงค่ะ