สวัสดีครับ ผมเชื่อว่าหลายท่ายกำลังมองหาว่าเครื่องผลิตออกซิเจนราคาหลักพันที่ขายในท้องตลาดเช่น Markert Place, Lazada,Shopee หรืออื่นๆ ก็จะเกิดคำถามขึ้นมาว่า
- เครื่องผลิตออกซิเจน 3 ลิตร ทำไมแพงกว่า 7 ลิตร
- ราคาต่ำคุ้มค่ากว่าจริงไหม
- ดีไชน์สวยงาม และเล็กกะทัดรัด น่าใช้กว่าหรือเปล่า
- ให้ออกซิเจนได้จริงหรือไม่
การดูแลผู้ป่วยที่บ้านย่อมมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงอยู่แล้ว และหลายๆท่านที่ได้เข้ามาอ่านบทความนี้ ทำไมทางเว็บไชต์นี้ไม่มีขายเครื่อง 7 ลิตรรุ่นราคาหลักพันถึงไม่มีขาย ทางเราจึงได้ซื้อเครื่อง 7 ลิตรรุ่นนี้มาทำการศึกษา
ภายในสเปคระบุว่า สามารถปรับอัตราการไหได้ 1-7 ลิตร/นาที พร้อมทั่งให้ความเข้มข้นของออกซิเจน(สูงสุด) 93% ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการันตรีว่าเครื่องสามารถคงความเข้มข้นของออกซิเจนได้ถึง93+-3%จริงหรือไม่
การทดสอบจะแบ่งเป็น 2 ส่วนโดยเปรียบเทียบกับเครื่องผลิตออกซิเจนรุ่น Jay-10
ส่วนแรก ค่าความเข้มข้นในระดับอัตราการไหล 1-7 ลิตร / นาที (ตามสเปคเครื่อง)
ค่าความเข้มข้นออกซิเจน คืออะไร?
ค่าความเข้มข้นของเครื่องออกซิเจนตามมาตรฐานจะอยู่ที่ 93+-3% ซึ่งความเข้มข้นของออกซิเจนที่เครื่องทำได้มาจากสาร Molecular Sieves โดยการดูดอากาศรอบเครื่องผลิตออกซิเจน (ออกซิเจนในอากาศปกติมี 21%) เข้ามาแยกไนโตรเจน และกักเก็บไว้ที่ส่วนกลางเพื่อสะสมให้ได้ความเข้มข้นอยู่ที่ 93+-3%
แล้วจ่ายออกทาง Oxygen Outlet โดยเกณฑ์มาตรฐานของเครื่องที่ได้รับรองจาก FDA, ISO, CE และมาตราฐานในการบำบัดผู้ป่วยความเข้มข้นของออกซิเจนจะอยู่ที่ 85% ขึ้นไป
อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ต่อกับเครื่องผลิตออกซิเจนด้วยว่าสามารถส่งผ่านออกซิเจนออกมาให้ผู้ป่วยได้กี่เปอร์เซ็นต์ ยกตัวอย่างเช่น
- Nasal Cannula ให้ออกซิเจนได้ที่ระดับ 1-6 ลิตร/นาที ที่ปลายสายออกซิเจนจะผสมกับอากาศบางส่วนจึงจะได้รับออกซิเจน 24-44%
- Mask with bag ได้ที่ระดับ 6-10 ลิตร/นาที ค่าความเข้มข้นจะอยู่ที่ 60-90%
การทดลองที่ 1 ค่าความเข้มข้นออกซิเจน (Oxygen Purity)
นำเครื่องผลิตออกซิเจนราคาหลักพันมทดลอง กับ เครื่องผลิตออกซิเจน Jay-10 โดยจะทดสอบตั้งแต่อัตราการไหลที่ 1 – 7 ลิตร/นาที
จากการทดสอบเบื้องต้น อัตราการไหลที่ 1 ลิตร/นาที
เครื่องผลิตออกซิเจนหลักพันหน้าจอแสดงผลระบุที่ 90% จากการทดสอบจริงด้วยเครื่องวัดค่าพบว่า Oxygen ได้ค่าอยู่ที่ 40% - 50% โดยค่ามีการสวิงขึ้นลงต่ำสุดอยู่ที่ 30%
จากการทดสอบเบื้องต้น อัตราการไหลที่ 2 ลิตร/นาที
เครื่องผลิตออกซิเจนหลักพันหน้าจอแสดงผลระบุที่ 65% จากการทดสอบจริงด้วยเครื่องวัดค่าพบว่า Oxygen ได้ค่าอยู่ที่ 30% - 40% ค่าเฉลี่ยที่ได้รับลงมา 10%
จากการทดสอบเบื้องต้น อัตราการไหลที่ 3 ลิตร/นาที
เครื่องผลิตออกซิเจนหลักพันหน้าจอแสดงผลระบุที่ 55% จากการทดสอบจริงด้วยเครื่องวัดค่าพบว่า Oxygen ได้ค่าอยู่ที่ 35% ค่าเฉลี่ยที่ได้รับลงมา 5%
จากการทดสอบเบื้องต้น อัตราการไหลที่ 4-7 ลิตร/นาที
จากการทดสอบ อัตราการไหลที่ 4-7 ลิตร/นาที ให้ค่าเฉลี่ยที่เท่ากันที่ 25-30% ซึ่งไม่ต่างกันนอกจากแรงดันลมที่ออกมา
สรุปดังตารางเปรียบเทียบดังนี้
หากนำไปต่อกับสายออกซิเจน Nasal Cannula จะเหลือค่าความเข้มข้นออกซิเจนเท่าไร?
เครื่องผลิตออกซิเจน(ราคาหลักพัน) ค่าออกซิเจนจค่อนข้างสวิงขึ้นลง 25 – 50% กรณีนี้หากนำไปใช้งานผ่านสาย Nasal Cannula (ปรับไม่เกิน 6 ลิตร/นาที) คำนวณค่า% คร่าวๆจะเป็นตามตารางนี้ จากตารางดังกล่าว เมื่อนำมาใช้งานจริงกับสาย cannula เครื่องหลักพันออกซิเจนที่ออกมานั้นผสมกับอากาศจนไม่เหลือออกซิเจนเพียงพอกับผู้ป่วยที่ควรได้รับเพิ่มเติมจากตัวเครื่องเลยซึ่งเป็น(ออกซิเจนที่มีอยู่แล้วภายในอากาศ 21%) หากนำมาใช้งานจริงกับผู้ป่วยที่มีภาวะขาดออกซิเจนไม่เพียงพออย่างแน่นอนครับ
ทดสอบระบบพ่นยาละอองพ่น
ในส่วนของการพ่นยา หลักการพ่นยาคือการอัดแรงดันสูงเข้าไปในตัวกะเปาะโดยให้เกิดเป็นไอละอองหรือควันเพื่อสูดดม ปกติฟังก์ชั่นพ่นยานี้จะมีในเครื่องบางรุ่นเท่านั้น หากต้องการพ่นยาพร้อมกับรับออกซิเจนไปด้วยเหมือนโรงพยาบาลต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจนที่มีแรงดัน 20psi เท่านั้นเพราะโรงพยาบาลใช้ระบบท่อไปป์ไลน์โดยมีแรงดันอยู่ประมาณ 40-50psi
สำหรับเครื่องผลิตออกซิเจนที่ได้รับการทดสอบฟังก์ชั่นพ่นยานั้น มีแรงดันไม่เพียงพอที่จะทำให้ยาระเหยมาเป็นไอได้ดีมากนัก ชุดหน้ากากมีหยดน้ำเปียก ซึ่งหากพ่นยาโดยทั่วไปควรจะมีปริมาณยาที่ออกมาเห็นเป็นไอละออง หรือคล้ายควันบุหรี่
บทสรุป เครื่องผลิตออกซิเจนหลักพัน ใช้ได้จริงไหม?
ตามรายการทดสอบที่กล่าวมา ทุกท่านน่าจะได้ข้อสรุปแล้วว่าเครื่องลักษณะนี้ ไม่สามารถใช้งานทางการแพทย์ได้ หากนำไปใช้งานจริงกับคนไข้นั้นไม่เหมาะสมอย่างแน่นอน
หลักการซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนเราควรดูหลักๆอยู่ 3 เรื่อง
1) ค่าความเข้มข้นของออกซิเจนที่ตัวเครื่องสามารถทำได้ต้องไม่ต่ำกว่า 87% ของออกซิเจนที่ปล่อยออกจากเครื่อง เพราะจะไม่สามารถได้งานได้จริง
2) เมื่อปรับอัตราการไหลของออกซิเจนเพิ่มขึ้นออกซิเจนเจนที่ปล่นอออกมาไม่ควรดรอป อย่างเช่น เราปรับไล่ตั้งแต่เครื่อง 1-5 ลิตร ทุกลิตรที่ตั้งไว้ออกซิเจนที่ทำได้ต้องมีออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 87-96% (ไม่ใช้ดูดอากาศเข้ามามากขึ้นแล้วความเข้มข้นของออกซิเจนดรอปลง)
3) เครื่องผลิตออกซิเจนควรได้รับการรับรองจากองค์กรต่างๆ และมีการนำเข้าโดยถูกต้อง โดยขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์ สามารถตรวจสอบอย.ได้
กรณีไม่มีอย. หรือนำเข้าโดยไม่ผ่านการตรวขสอบให้ตั้งข้อสังเกตุว่า
(1.) เครื่องไม่ได้รับมาตรฐานที่จะสามารถจดทะเบียน อย. ได้หรือจำหน่ายให้ผู้บริโภคได้ จึงจำเป็นต้องเลี่ยงการตรวจสอบจาก อย.
(2.) ประเภทหิ้วเครื่องเข้ามา โดยไม่ได้มีการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย กรณีนี้ถ้าเกิดเครื่องเสีย จะไม่มีอะไหล่ซัพพอร์ตในการส่งซ่อม เพราะทางโรงงานมักจะมีการเทรนการซ่อม และส่งะไหล่ให้กับบิษัทที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเท่านั้น
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความครับ
สามารถปรึกษาเพิ่มเติมเข้ามาที่ Realmedcorp ผ่านทานไลน์หรือ โทรติดต่อได้เลยครับ
RealmedCorp
• สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 094-435-3698
- Line@ : https://lin.ee/P1lAeQS
- Website : https://www.realmedcorp.com/
#เครื่องผลิตออกซิเจน #ผู้ป่วยเจาะคอ #เครื่องผลิตออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยเจาะคอ #เตียงผู้ป่วย #เก้าอี้วีลแชร์ไฟฟ้า