ภาวะสมองขาดออกซิเจนมีอาการอย่างไร?

258 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาวะสมองขาดออกซิเจนมีอาการอย่างไร?

ภาวะสมองขาดออกซิเจนมีอาการอย่างไร?

สมองขาดออกซิเจน ถ้าเกิดการขาดทั่วทั้งสมองเป็นระยะเวลานานเพียงประมาณ 4 นาที ก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์สมอง เมื่อเซลล์สมองตายก็จะทำให้สมองสูญเสียหน้าที่ปกติไป
 
ส่วนต่างๆของสมองที่ไวต่อการขาดออกซิเจนนั้นแตกต่างกัน สมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุด (เกิดอาการผิดปกติเร็ว และได้รับผลกระทบมากที่สุด) คือ สมองใหญ่ ส่วนที่เรียกว่า สมองกลีบขมับ (Temporal Lobe) โดยเฉพาะส่วน ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ส่ง ผลให้มีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ การบริหารจัดการ

 
สมองส่วนอื่นๆที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเช่นกัน คือ

มองส่วนซีรีเบลลั่ม/สมองน้อย (Cerebellum) ส่งผลให้มีอาการ เซ การทรงตัวผิดปกติ

สมองส่วนเบซัลแกงเกลีย (Basal Ganglia) ส่งผลให้มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ

สมองใหญ่ส่วนที่เรียกว่า กลีบหลัง/กลีบท้ายทอย (Occipital Lobe) ส่งผลให้มีปัญหาด้านการมองเห็น ได้แก่ ลานสายตาผิดปกติ หรือตาบอดได้

ทั้งนี้ อาการผิดปกติอื่นๆที่อาจพบได้ ได้แก่ อาการชักเกร็งกระตุก, กล้ามเนื้อเกร็ง, การทรงตัวไม่ดี, แขนขาอ่อนแรง, พฤติกรรมผิดปกติ, การควบคุมการขับถ่ายเสียไป, หายใจเองไม่ได้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือเครื่องผลิตออกซิเจน, และถ้าการขาดออกซิเจนรุนแรงยาวนาน ก็จะเกิดภาวะสมองตาย และเสียชีวิตได้


ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะสมองขาดออกซิเจนที่พบบ่อยคืออะไร?

ภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ที่พบบ่อยจากภาวะสมองขาดเลือด ได้แก่

ภาวะชักต่อเนื่อง (Status Epilepticus)

การเคลื่อนไหวผิดปกติของร่างกาย แขน ขา

ภาวะติดเชื้อจากการนอนรักษาในโรงพยาบาล (Hospital Acquired Infection)

ภาวะแผลกดทับ (Pressure Sore)

กล้ามเนื้อเกร็ง (Spasticity)

สูญเสียความจำ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป

การมองเห็นผิดปกติ ถ้ารุนแรงอาจตาบอด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้