ถังอลูมิเนียมออกซิเจนแบบพกพา กับ เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา ควรเลือกใช้ในกรณีไหนดี

338 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ถังอลูมิเนียมออกซิเจนแบบพกพา กับ เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา ควรเลือกใช้ในกรณีไหนดี

ถังอลูมิเนียมออกซิเจนแบบพกพา กับ เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา ควรเลือกใช้ในกรณีไหนดี

          เนื่องจากปัจจุบันนี้ เรามีอายุมากขึ้นซึ่งหมายความว่ามีโอกาสเกิดโรคมากตามกาลเวลา อาทิเช่น โรคปอด โรคหัวใจ หรือผู้ที่มีภาวะขาดออกซิเจน โรคเหล่านี้ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดโดยออกซิเจนทั้งสิ้น

กรณีเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือออกไปทำกิจกรรมร่วมกันข้างนอกบ้าน มักจะนิยมใช้ถังออกซิเจน(อลูมิเนียม)แบบพกพาหรือ เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา เพราะมีน้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวก แต่ละแบบจะมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถใช้แทนกันได้


จุดเด่นของถังออกซิเจน(อลูมิเนียม)แบบพกพา

>ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ง่ายต่อการพกพา โดยมีน้ำหนักเบาสุดอยู่ที่ 1.3 กก. ผู้ใช้งานสามารถสะพาย

ได้โดยไม่ตรงกังวลถึงน้ำหนักถังออกซิเจน

>สามารถให้ออกซิเจนได้สูงสุด 15 ลิตรต่อนาที ซึ่งหมายความว่าสามารถให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยหนักได้ รองรับอุปกรณ์แมสแบบมีถุงลม (Mask with bag) และผู้ป่วยเจาะคอที่ต้องใช้ทาขี่ออสแมสแบบรูเล็กเท่านั้น

ข้อจำกัดการใช้

>กรณีผู้ป่วยที่ต้องเดินทางตลอด จะเกิดปัญหา ออกซิเจนหมดถังจึงต้องเติมทุกครั้งเมื่อออกซิเจนหมด โดยสามารถถังได้ตามร้านแก๊สออกซิเจน

>แม้จะใช้กับผู้ป่วยเจาะคอได้แต่ก็ยังไม่สามารถใช้ได้เป็นระยะเวลานาน


จุดเด่นของเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา

>ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ง่ายต่อการพกพา โดยมีน้ำหนักเบาสุดอยู่ที่ 2 กก. ผู้ใช้งานสามารถสะพาย

ได้โดยไม่ตรงกังวลถึงน้ำหนักถังออกซิเจน

>สามารถให้ออกซิเจนได้อย่างสม่ำเสมอ ภายในเครื่องมีแบตเตอรี่สำรอง และยังมีอุปกรณ์รองกับเต้าเสียบของรถยนต์สามารถใช้ได้ตลอดการเดินทาง

>ประหยัดเวลาและค่าเดินทาง ในการไปหาที่เติมออกซิเจนลลงถังออกซิเจน

>ใช้งานง่ายเปิดและปิดเครื่อง ไม่ยุ่งยาก


ข้อจำกัดการใช้

>ไม่เหมาะกับผู้ป่วยเจาะคอที่ต้องการออกซิเจนสูงๆ และให้ออกซิเจนด้วยทาขี่ออสแมสแบบรูใหญ่หรือท่องวงช้าง

>ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ใช้แมสแบบมีถุงลม (Mask with bag)

>ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง เนื่องจากถ้าออกซิเจนที่ตัวเครื่องจ่ายออกอาจไม่เพียงพอ

>ในรูปแบบการใช้งาน สามารถใช้ได้แค่รูปแบบสายให้ออกซิเจนเสียบจมูก (Nasal Cannula) เท่านั้น

 
ชนิดของเครื่องผลิตออกซิเจนพกพา

          เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพาจะมี 2 ชนิดคือ Continuous Flow และ Pulse Dose

แบบ Continuous Flow เป็นรูปแบบที่เหมือนกันเครื่องใช้ในบ้าน หลักการทำงานจะปล่อยออกซิเจนตามอัตราการไหลที่คงที่ตามที่เราปรับบนตัวเครื่อง และเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพาชนิดนี้จะมีน้ำหนักมากจึงนิยมภายในรถเป็นหลัก

แบบ Pulse Dose เป็นเทคโนโลยีอัจฉริยะ หลักการทำงานจะจ่ายออกซิเจนตามการหายใจของผู้ใช้งาน พร้อมทั้งสามารถนำขึ้นสายการบินได้ และแบตเตอรี่ใช้ได้นานถึง 5 ชั่วโมง


เครื่องผลิตออกซิเจนพกพาระบบ Continuous Flow ยี่ห้อ Longfian รุ่น Jay-1

          Jay-1 เป็นเครื่องพกพาที่เหมือนเครื่องผลิตออกซิเจนตามบ้าน แต่ประสิทธิภาพการปล่อยออกซิเจนเป็นจำนวนลิตรต่อนาทียังทำได้น้อยกว่าเครื่องแบบที่ใช้ภายในบ้าน เนื่องจากระบบของตัวเครื่องค่อนข้างเล็ก

          ระบบไฟแบบ AC สามารถใช้ไฟรถ ไฟบ้าน และมีแบตเตอรี่สำรองพร้อมใช้งานได้เพียง 45 นาที เนื่องจากระบบของตัวเครื่องทำการจ่ายออกซิเจนอยู่ตลอดจึงทำให้ใช้กำลังไฟค่อนข้างสูงกว่าพกพาอีกระบบ
 


สเปคเครื่อง Jay-1 ระบบ Continuos Flow

อัตราการไหลของออกซิเจน 0.5-5 ลิตร/นาที

ความเข้มข้นออกซิเจน 38%-93%

ใช้กับไฟรถ DC120V และ ไฟบ้านกระแสสลับ AC220V/110V กำลังไฟ < 85 วัตต์

ระดับเสียงไม่เกิน 45 เดซิเบล

ขนาด 190 x 350 x 320 มม. กำลังไฟ < 85 วัตต์

มีแจ้งเตือนไฟฟ้าขัดข้องและความดันผิดปกติ

น้ำหนัก 6 กิโลกรัม

รูปแบบการให้ออกซิเจน : Nasal Cannula



เครื่องผลิตออกซิเจนพกพาระบบ Pulse Dose ยี่ห้อ Devilbiss รุ่น iGo2

          iGo2 เป็นระบบจับการหายใจ ซึ่งในรูปนี้เครื่องจะปล่อยออกซิเจนเมื่อมีการหายใจเท่านั้น

และมีระบบ Smart Dose ที่สามารถเร่งเพิ่มออกซิเจนได้ตามความเหนื่อยของผู้ป่วยได้ถัง 4 ระดับจากระบบปกติ 5 ระดับ

พร้อมทั้งยังได้รับการรับรองจากองค์กรการบินแห่งชาติ FAA สามารถนำขึ้นไปใช้บนเครื่องบินได้



สเปคเครื่อง iGo2 ระบบ Pulse Dose

อัตราการไหลของออกซิเจน สามารถปรับได้ 5 ระดับ

ความเข้มข้นออกซิเจน 90%-96%

ใช้กับไฟรถ DC12V และ ไฟบ้านกระแสสลับ AC220V/110V กำลังไฟ < 85 วัตต์

ระดับเสียงไม่เกิน 37 เดซิเบล

ขนาด 213 x 89 x 218 มม. กำลังไฟ < 85 วัตต์

มีแจ้งเตือนไฟฟ้าขัดข้องและความดันผิดปกติ

น้ำหนัก 2.2 กิโลกรัม

รูปแบบการให้ออกซิเจน : Nasal Cannula

 

เราควรเลือกเป็นถังออกซิเจนพกพา หรือเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพาดี

          สำหรับท่านที่กำลังตัดสินใจซื้อ อุปกรณ์สำหรับให้ออกซิเจนขณะเดินทางไปรพ.หรือทำกิจกรรมนอกสถานที  ล้วนแต่จุดประสงค์ของผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถดูตามความเหมาะสมตามตารางด้านล่างนี้ได้เลยครับ


          สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อเข้ามาได้เลยครับ ทางทีม Realmedcorp ยินดีตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับการใช้งานครับ

 RealmedCorp

• สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Tel : 094-435-3698

- Line@ : https://lin.ee/P1lAeQS

- Website : https://www.realmedcorp.com/

#เครื่องผลิตออกซิเจน #ถังออกซิเจน #เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้